บริษัท เอสซีที อินเตอร์พริ้น จำกัด
โรงพิพม์คุณภาพ บริการด้วยใจ
พบกับงานพิมพ์คุณภาพได้ที่นี่
บริษัท เอสซีที อินเตอร์พริ้น จำกัด
โรงพิพม์คุณภาพ บริการด้วยใจ
พบกับงานพิมพ์คุณภาพได้ที่นี่
Slider

งานพิมพ์ระบบออฟเซ็ท

 
box01
พิมพ์ออฟเซ็ทกล่องกระดาษ
Brochure01
พิมพ์ออฟเซ็ทใบปลิว
Card02
พิมพ์ออฟเซ็ทการ์ดเกมส์
Label02
พิมพ์ออฟเซ็ทฉลากสินค้า
Brochure04
พิมพ์ออฟเซ็ทแผ่นพับ
Sticker21
พิมพ์ออฟเซ็ทสติกเกอร์
Sticker20
พิมพ์สติกเกอร์สูญญากาศ
Sticker14
พิมพ์ออฟเซ็ทสติกเกอร์ใสฝ้า
 
 

โรงพิมพ์ออฟเซ็ท

โรงพิมพ์ เอสซีที อินเตอร์พริ้น รับพิมพ์สิ่งพิมพ์ระบบออฟเซ็ท และออฟเซ็ทยูวี ทุกชนิด

การพิมพ์ระบบออฟเซ็ท (Offset Printing) เป็นการพิมพ์พื้นราบ(ชนิดแผ่น) ที่ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน โดยสร้าง เยื่อน้ำไปเกาะอยู่บนบริเวณไร้ภาพของแผ่นแม่พิมพ์(เพลทแม่พิมพ์) เมื่อรับหมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์จะไม่เกาะน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณ ที่เป็นภาพ แล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษ ส่วนการพิมพ์ออฟเซ็ทยูวี(Offset UV Print)นั้น จะมีลักษณะเหมือนกัน แต่ต่างกันเฉพาะ หมึกพิมพ์และ ระบบที่ทำให้สีหมึกพิมพ์แห้ง โดยใช้สีหมึกพิมพ์ยูวี และการทำให้แห้งต้องผ่านหลอดUV เพื่อให้สีให้ทันที และการพิมพ์ ระบบออฟเซ็ทยูวีนั้น เราควรจะต้องเคลือบเงาหรือด้านเสริมทุกครั้ง เพราะสีที่ผ่านหลอดUVจะดูแห้งๆ ดังนั้นเราจึงต้องเคลือบเสริม อีกขั้นตอนนึงครับ การพิมพ์ออฟเซ็ทนั้น สามารถผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง รายละเอียดคมชัดสวยงาม เครื่องพิมพ์มีหลายขนาด มีทั้งขนาด ตัด 4 ประมาณ 25 x 18 นิ้ว เครื่องตัด 2 ขนาดประมาณ 25 x 36 นิ้ว มีทั้งเครื่องพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี 5 สี หรือมากกว่านั้น ส่วนใหญ่งานพิมพ์ออฟเซ็ทจะพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภท พิมพ์แผ่นพับ พิมพ์ใบปลิว พิมพ์สติกเกอร์ พิมพ์ฉลากสินค้า พิมพ์แคตตาล็อก พิมพ์โบรชัวร์ พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษ พิมพ์ถุงกระดาษ ฯลฯ

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท(Offset) เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะมีความคมชัดสวยงามคุณภาพสูง มีความละเอียดมาก การออกแบบอาร์ตเวิร์ค ไม่ว่าจะออกแบอย่างไร การพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไป ประกอบกับความก้าวหน้า ในการทำเพลทแม่พิมพ์ และการแยกสี เพื่อออกฟิล์ม และ เพลทแม่พิมพ์ ซึ่งในปัจจุบันทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่ง ถูกลงมากเท่านั้น สิ่งพิมพ์และจำนวนพิมพ์ ที่จะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ทควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.มีจำนวนใบพิมพ์ตั้งแต่ 500 ใบพิมพ์ขึ้นไป
2.มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟฟิคสูง ภาพเหมือนจริง ภาพถ่าย ความละเอียดสูง
3.ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์จำนวนเยอะๆ 1 ชั่วโมงสามารถพิมพ์ได้ 5,000-1,0000 ใบพิมพ์
4.ต้องการความละเอียดสูง สีสวย คมชัด สวยงาม สอดสีไล่โทนสีสวยงาม
5.เป็นการพิมพ์หลายสี สามารถทำได้ตั้งแต่ 1 สี ถึง 4 สี + สีพิเศษ หรือภาพสีที่ต้องการความสวยงามมากๆ
6.มีอาร์ตเวิร์ครูปแบบ ที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก รายละเอียดค่อยข้างเยอะ ตัวหนังสือเล็กมาก
7.มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ เพราะระบบพิมพ์ออฟเซ็ท จะมีต้นทุกการตั้งเครื่องสูง เช่นค่าเพลทแม่พิมพ์ ค่าบล็อกไดคัท ค่ากระดาษตั้งเครื่องพิมพ์ แต่ถ้าจำนวนเยอะๆจะค่อนข้างถูกกว่าระบบพิมพ์ระบบอื่นหลายเท่า

โรงพิมพ์ ระบบพิมพ์ออฟเซ็ท สามารถผลิตงานพิมพ์ที่คุณภาพได้ดี เพราะ

1.การถ่ายทอดภาพจากเพลทแม่พิมพ์ กระทำโดยการถ่ายทอดลงบนผ้ายางแบลงเกตก่อน แล้วจึงถ่ายทอดลงบนกระดาษ
ทำให้การถ่ายทอดหมึกพิมพ์ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอเรียบเนียน และแม่พิมพ์ไม่เสีย
2.สามารถใช้เม็ดสกรีนที่มีความละเอียดมากๆ ถึง 150 ,175 เส้น/นิ้วได้ทำให้ภาพที่ออกมามีความละเอียดสวยงามในการพิมพ์ระบบ
ออฟเซ็ทยูวี จะใช้เม็ดสกรีนเบอร์ 150dpi. เพราะจะทำให้หมึกลงบนวัสดุ แล้ว เม็ดสกรีนของสีไม่หนักจนเกินไปทำให้เรียบเนียน
สวยงาม ส่วนการพิมพ์ระบบ ออฟเซ็ทธรรมดาจะใช้เม็ดสกรีนเบอร์ 175dpi.เพราะสามารถเก็บรายละเอียดได้คมชัด สวยงามที่สุด
3.การพิมพ์ภาพ 4 สี หรือ + สีพิเศษ ( ภาพสอดสี , ภาพเหมือนจริง )ทำได้สะดวก เพราะสามารถปรับตำแหน่งของแม่พิมพ์
และกระดาษให้ลงในตำแหน่งที่ตรงกันของแต่ละสีได้ง่าย สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลายชนิด อาทิเช่น ระบบออฟเซ็ทธรรมดา
สามารถพิมพ์ได้บน สติกเกอร์กระดาษ งานกระดาษต่างๆ ได้ตั้งแต่ความหนา 60-500 แกรม ส่วนระบบพิมพ์ออฟเซ็ทยูวีนั้น
เหมาะสำหรับพิมพ์งานสติกเกอร์ พีวีซี สติกเกอร์พีพี กล่องกระดาษฟรอยด์ พลาสติก0.1-0.5 มิล. และอื่นๆ

ขั้นตอนและ หลักการการพิมพ์ระบบ ออฟเซ็ท

Offset Print1การพิมพ์วิธีนี้ใช้แผ่นเพลทแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบนแต่นำมายึดติดกับลูกโมแม่พิมพ์(Plate cylinder) จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่น แม่พิมพ์ ก่อนลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่าลูกนี้ (Water roller) หรือ (dampening roller) แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกที่เกาะติดเพลทแม่พิมพ์นี้ จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง (Rubber cylinder) ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลมแต่ถูกหุ้มไว้ด้วย แผ่นยาง โดยจะนำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้วก็จะนำไปพิมพ์ ติดบนแผ่นกระดาษ หรือวัสอื่นๆที่เป็นชนิดงานแผ่น ซึ่ง จะมีลูกโมแรงกด (impressioncylinder)อีกลูกโมหนึ่งจับกระดาษมากดกับ ลูกโมยาง และรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบน กระดาษก็จะได้ชิ้นงานพิมพ์ตามต้องการ ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทจึงจะต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่าๆกัน หมุนพิมพ์กระดาษ ออกมาแต่ละครั้งในเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์หมึกนั้นไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์ออฟเซ็ทมาพิมพ์ แผ่นกระดาษโดยตรงแต่ถ่าย ทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นภาพที่พิมพ์ก็ดี ภาพก็ดี ที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์จึงเป็น ตัวหนังสือ ที่อ่านได้ตามปกติ ภาพก็เป็นภาพที่ตรงกับภาพที่พิมพ์ออกมา เมื่อแม่พิมพ์พิมพ์ตัวหนังสือลงบนยางตัวหนังสือบนลูกโมยางจะกลับ ซ้ายเป็นขวา และขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ ตัวหนังสือและภาพเป็นปกติตามเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ ออฟเซ็ท (เพลทแม่พิมพ์ออฟเซ็ท) การพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่มากในขณะนี้ เพราะสามารถพิมพ์ภาพได้ชัดเจน สวยงาม และรวดเร็วในการพิมพ์จำนวนเยอะๆ คุณภาพสูงมาก เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทส่วนใหญ่ที่นิยมพิมพ์กันจะเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแผ่น ส่วนมากหลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มี ภาพก็จะเป็น ที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึกหน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์ออฟเซ็ท

1.ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำจะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรือความชื้นและผลักดันหมึกให้ออกนอกบริเวณ
2.ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึกและผลักดันน้ำมันออกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ๆ แตกต่างกัน

ประวัติการพิมพ์ระบบออฟเซ็ท

ประวัติการพิมพ์ออฟเซ็ท โรงพิมพ์ออฟเซ็ท สมัยอดีต

ออฟเซ็ท หรือ การพิมพ์พื้นราบเรียบชนิดแผ่น มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์(Alois nefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ และใช้น้ำบางๆ หรือความเปียกชื้น ลงไปปกคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพ ก่อนแล้วจึงคลึงหมึก ตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึก และผลึกดันน้ำและน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบ และใช้น้ำหนักกดพิมพ์ลงไปพอควร กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน ปัจจุบันการพิมพ์ระบบพื้นราบ ที่รู้จักกันในนามพิมพ์หิน ได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักมากกลับไปกลับมา ในยุคแรกๆการ พิมพ์ พิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น

การพิมพ์ ออฟเซ็ท ได้มีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนในการพิมพ์ เปลี่ยนเป็น เครื่องจักรไอน้ำ และจากเครื่องจักรไอน้ำ เป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์จากหินเป็นโลหะที่บาง เบาสามารถโค้ง โอบรอบได้ (เพลทแม่พิมพ์)และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุงานที่จะพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ์เพลท(plate cylinder) โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder)กับโมกดพิมพ์ (imoression cylinder) ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า ''ลิโธกราฟี'' (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ ''ออฟเซต'' (offset) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า ''ออฟเซตลิโธกราฟี''(offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น กระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ

ประวัติการพิมพ์ออฟเซ็ทในประเทศไทย

ย้อนไปในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา โดยมี มิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่ง เข้ามาสอนศาสนา ในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทย มีสังฆราชองค์หนึ่ง มีชื่อว่า ลาโน(Mgr Laneau)ได้ริเริ่มแต่ง และพิมพ์หนังสือ คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ ออฟเซ็ท ตามวิธีฝรั่งของ สังฆราชลาโน ถึงกับทรงโปรดให้ตั้ง โรงพิมพ์ ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก และต่อมาภายหลังรัช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยาม กิจการ โรงพิมพ์ ในสมัยอยุธยา จึงหยุดชะงักและไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อบ้านเมืองเริ่มปกติดีแล้ว บาทหลวงคาทอลิก มีชื่อว่า คาร์โบล ได้ กลับเข้ามาสอนศาสนา จึงจัดตั้ง โรงพิมพ์ และเริ่มพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่า เป็นปีค.ศ.1796 (พ.ศ.2339) ซึ่งคาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์ช่วงแรกๆคงใช้ วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ ในปี พ.ศ.2356 (ค.ศ.1813) ได้มีการหล่อตัวพิมพ์ เป็นภาษาไทย ขึ้นเป็นครั้งแรกโดย นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการ ทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่าและได้ดำเนินการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้น เป็นครั้งแรก ต่อมา ตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อ ตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ ดังกล่าวแล้วนำเข้าสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล. 2515 : 198) พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับราชการอยู่กับ รัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทยขึ้น และได้ จัดพิมพ์หนังสือ ไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า "A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมี เหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในปัจจุบัน

1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 Rating 5.00 (5 Votes)

ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่าน ที่เลือกใช้บริการ โรงพิมพ์ ผลิตพิมพ์กล่องเครื่องสำอางค์ พิมพ์กล่องสบู่ พิมพ์กล่องอาหารเสริม พิมพ์สติกเกอร์ พิมพ์สติกเกอร์กันปลอม และงานพิมพ์อื่นๆ ครับ